เมนู

ฯลฯ นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา. ภิกษุนึกถึงสิกขาทั้ง 3 นี้อยู่ ฯลฯ ทำให้
แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งอยู่ ก็พึงศึกษา พึงประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี
สมาทานประพฤติ. คำว่า ภควา เป็นคำกล่าวด้วยความเคารพ ฯลฯ
เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาท...
นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำ ได้เห็นแล้ว
ซึ่งสักขิธรรมโดยไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่น เพราะฉะนั้นแหละ
ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาทในศาสนาของพระผู้มีพระภาค-
เจ้านั้น นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้แล.

จบตุวฏกสุตตนิทเทสที่ 14

อรรถกถาตุวฏกสุตตนิทเทสที่ 13


พึงทราบวินิจฉัยในตุวฏกสุตตนิทเทสที่ 14 ดังต่อไปนี้.
แม้บทว่า ปุจฺฉามิ ตํ นี้ ในมหาสมัยนั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงประกาศความนั้นแก่เทวดาทั้งหลายบางพวก ผู้มีจิตเกิดขึ้นว่า
การปฏิบัติเพื่อบรรลุพระอรหัตเป็นอย่างไรหนอ จึงทรงให้พระพุทธนิมิต
ตรัสถามพระองค์ แล้วตรัสโดยนัยก่อนนั่นแล.
ในบทเหล่านั้น พึงทราบความคาถาที่เป็นคำถามต้นก่อน ท่าน
จำแนกคำถามด้วย อทิฏฐโชตนาปุจฉา เป็นต้น ไว้ในบทนี้ว่า ปุจฺฉามิ